วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การคูณจำนวนเต็มบวก





    การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก

การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก คือ การคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ
ดังตัวอย่าง
                                            2 × 5     =     5 + 5 = 10
                                            3 × 6     =     6 + 6 + 6 = 18
                                            4 × 7     =     7 + 7 + 7 + 7 = 28
การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวกข้างต้น จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
                     

 การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ

การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ สามารถหาผลคูณโดยใช้ความหมายของการคูณและการบวกจำนวนเต็มลบ ดังตัวอย่าง
2 × (-4)       =     (-4) + (-4) = -8
4 × (-8)       =     (-8) + (-8) + (-8) + (-8) = -32
5 × (-10)     =     (-10) + (-10) + (-10) + (-10) + (-10) = -50
การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบข้างงต้น จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น เช่น
7 × (-9)       =     -63
3 × (-11)     =     -33
13 × (-2)     =     -26
             
 การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก
เนื่องจาก จำนวนเต็มมีสมบัติการสลับที่การสำหรับการคูณ ดังนั้นในการคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวกจึงหาผลคูณได้โดยใช้สมบัติการสลับที่ เช่น
                                (-9) × 7               =             7 × (-9)
                                =             -63
                                (-15) × 3            =            3 × (-15)
                                =             -45
                            (-2) × 13               =            13 × (-2)
                               = -26
การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
           การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ
            การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคูณจำนวนเต็มที่กล่าวว่า การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น เช่น
(-7) × (-5)            =            35
(-23) × (-23)       =             529
(-29) × (-3)          =            87
         
  หลักเกณฑ์การคูณจำนวนเต็ม มีดังนี้
1. การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
2.การคูณจำนวนเต็มบวกด้วยจำนวนเต็มลบ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
3.การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มบวก จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
4. การคูณจำนวนเต็มลบด้วยจำนวนเต็มลบ จะได้คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น
       
  หลักการคูณของจำนวนเต็มบวก
ให้ a, b และ c แทนจำนวนเต็มบวกใด ๆ
1. สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ
                 a x b = b x a
            เช่น
       2 x 5 = 5 x 2
2. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มสำหรับการคูณ
                  (a x b) x c = a x (b x c)
เช่น      (2 x 5 ) x 6 = 2 x ( 5 x 6 )
3. สมบัติการแจกแจง
          a x (b + c) = (a x b) + (a x c)    เช่น     2 x ( 5 + 6 ) = (2 x 5) + (2 x 6 )
       (b + c) x a = (b x a) + (c x a)       เช่น      (5 + 6 ) x 2 = (5 x 2 ) + ( 6 x 2 )
        a x ( b - c ) = ( a x b) - (a x c )    เช่น     2 x ( 5 - 3 ) = ( 2 x 5 ) - ( 2 x 3 )
2 x ( 3 - 5 ) = ( 2 x 3 ) - ( 2 x 5 )

วีดีโอประกอบ






https://sites.google.com/site/eerawanpaothong/canwnte/kar-khun-har-canwntem  วันที่ 22 กันยายน  2556


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น